องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่

Dinchi Subdistrict Administrative Organization

แหล่งขุดค้นคว้าไดโนเสาร์ภูน้อย บ้านโคกสนาม


ออนไลน์ : 5

หัวข้อ :: แหล่งขุดค้นคว้าไดโนเสาร์ภูน้อย บ้านโคกสนาม


ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
 
แหล่งขุดค้นคว้าไดโนเสาร์ภูน้อย บ้านโคกสนาม หมู่ที่ 3 ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
  เป็นเวลาหลายปีตั้งแต่นายทองหล่อ นาคำจันทร์ ชาวบ้านดินจี่ พบกระดูกไดโนเสาร์ และเกล็ดปลา กว่าจะส่งไปสำรวจที่พิพิธพัณฑ์สิรินธร ชิ้นส่วนที่ส่งไปสำรวจพบกระดูกได้โนเสาร์ กว่า 20 ชิ้น ในปี 2551 
   ปี 2553 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศล นำโดย ดร.วราวุธ สุธีธร และดร.อีริค บุฟโต ทำการขุดทดสอบด้านตะวันออกเฉียงใต้ของภูน้อย พบกระดูกไดโนเสาร์ของ ซอโรพอดขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน คาดว่ามีลำตัวยาวได้ถึง 20 เมตร การขุดค้นดำเนินอย่างต่อเนื่อง ก่อกำเนิด หุบเขาไดโนเสาร์ แหล่งขุดค้นที่สมบูรณ์ที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   ปี 2544 ก่อเกิดพันธมิตร ภาครัฐ และประชาชน ร่วมกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งไดโนเสาร์ภูน้อยให้เป็นที่รู้จักผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขารอบภูน้อย กิจกรรมแถลงข่าว และการคืนความรู้สู่ชุมชน 
   ยิ่งขุดก็ยิ่งเจอ อีกหนึ่งความอัศจรรย์แห่งภูน้อย ที่ไม่ได้มากด้วยปริมาณของกระดูกเท่านั้น แต่ยังมากด้วยความหลากหลายแห่งสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพีชชอโรพอด ไดโนเสาร์กินเนื้อ เต่า จระเข้ ฉลาม และปลากระดูกแข็งโบราณ
  ปี 2555 ค้นพบ "เจ้าฟันคม" นักล่าแห่งยุคจูแรสสิก และ"น้องชงโค" ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ม้วนหางอยุ่ไม่ไกลจาก "เจ้าฟันคม"
  แถลงข่าวการค้นพบปลากระดูกแข็งชนิดใหม่ของโลก ณ แหล่งขุดค้นภูน้อย ชื่อ อีสานอิกธิส เลิศบุศย์ศี ชื่อชนิดตั้งเพื่อให้เกียรติแก่ นายอำเภอเลิศบุศย์ กองทอง ผู้มีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดแหล่งภูน้อย  
  ด้านการเผยแพร่ความรู้ ได้ริเริ่มโครงการค่ายอาสาล่าฝัน ตามล่ายักษ์ใหญ๋ในตำนานขึ้น เพื่อให้เยาวชนที่มีความสนใจได้สัมผัสประสบการณ์ด้านการขุดค้น และทำงานแบบนักบรรพชีวินจริงๆ
  ปี 2556 เกิดพายุฤดูร้อนระหว่างการขุดค้น ทำให้มีน้ำท่วมขังในแหล่งขุดค้นสร้างความเสียหายให้กับฟอสชิสเล็กน้อย ด้านการให้ความรู้ เกิดโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้บรรพชีวินภูน้อยครั้งแรกในโรงเรียนบ้านดินจี่ ตำบลดินจี่
  ปี 2557 การขุดค้นยังดำเนินต่อไป และพบฟอสชิลอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2,000 ชิ้น พัฒนาศูนย์เรียนรู้บรรพชีวินภูน้อยบริเวณใกล้หลุมขุดค้น ด้านการให้ความรู้แก่ชุมชน เกิดการสร้างเครือข่ายโรงเรียนในตำบล 3 โรงเรียน และสร้างเครือข่ายครูแกนนำ

   

ภาพบรรยากาศก่อนขึ้นแหล่งขุดค้น
 































วันที่ : 20 กุมภาพันธ์ 2564   View : 3071